แกรมมาร์แบบใดที่ออกสอบ TGAT ภาษาอังกฤษบ่อยที่สุด ? ตารางสอบก็ใกล้เข้ามา ใครยังไม่แม่นแกรมมาร์ เรารวมไว้ให้จดกันแล้วค่ะ #DEK68 ต้องอ่านนะ!
• คำเชื่อมเวอร์ชั่นยากๆ
เรื่องนี้ออกแทบทุกปี จะมีให้เห็นในพาร์ตเติมคำบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยความจำดีๆ ค่ะ ตัวอย่างเช่น
moreover, in addition หรือ besides ที่มีความหมายเดียวกับ and/และ
however, in contrast หรือ on the other hand ที่มีความหมายเดียวกับ but/แต่
therefore, thus หรือ as a result ที่มีความหมายเดียวกับ so/ดังนั้น
since, for หรือ as ที่มีความหมายเดียวกับ because/เพราะว่า
• พวก Phrasal Verb และ Idiom
เป็นคำพวกที่แปลตรงๆ ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น pick up/ไปรับ มารับ, send off/มาส่ง, give up/ยอมแพ้, look up to/ชื่นชม, look for/มองหา, look forward to/ตั้งตาคอย, pass away/เสียชีวิต, get along/เข้ากันได้ เป็นต้น
• Tenses ทั้ง 12
จำเยอะไม่ไหว ให้เน้นโครงสร้างที่ออกบ่อยๆ ก็ได้ คือ Past Simple, Present Perfect, Present Perfect Continuous ตัวอย่างวิธีสังเกตคือ ให้ดูจากศัพท์ในคำถาม ถ้าถามเรื่องในอดีต มีศัพท์อย่าง yesterday หรือ ago คำตอบจะต้องใช้โครงสร้างตระกูล Past
• กริยาแท้/ไม่แท้
เช่น ในหนึ่งประโยคจะมีประธาน+กริยาแท้ ดังนั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นกริยาไม่แท้ แล้วจะดูยังไงว่าเป็นกริยาไม่แท้ ? ให้สังเกตตามนี้เลยค่ะ
น้องจะไม่ผันตามหลัก Tense คือผันไม่ได้นั่นแหละ
น้องจะลงท้ายด้วย ing อันนี้เรียก Gerund
น้องจะเป็น V.ing และ V.3 อันนี้เรียก Participle
น้องจะเป็น V. แบบมี to อันนี้เรียก Infinitive
• สรรพนามเชื่อม
พวกคำที่ออกบ่อยๆ ก็มี Who+V., Which+V., Which+S.+V., That+V., That+S.+V. ซึ่งจุดที่ต้องระวังก็คือตัว That ต้องไม่มี (,) นำหน้าค่ะ
• กฎ S.+V. Agreement
เรื่องนี้ต้องจำให้ดี เพราะกฎเยอะมาก ยิ่งรู้กฎเยอะยิ่งดีค่ะ ซึ่ง S.+V. Agreement คือการใช้ประธาน (S.) และกริยา (V.) ให้มีความสอดคล้องกับแกรมมาร์ และเพราะกฎเยอะมาก เลยขอยกตัวอย่างที่เจอบ่อยกันนะ เช่น
ถ้าประธานมีคนเดียว (ประธานเอกพจน์) V. เติม s
ถ้าประธานมีหลายคน (ประธานพหูพจน์) V. ไม่ต้องเติม s
ประธานหลักจะอยู่หน้า of เสมอ เราต้องดูให้ดีว่าตัวไหนคือประธาน
every…, some…, any…, no… เป็นเอกพจน์ ดังนั้น กริยาก็ต้องเอกพจน์ คือต้องมี s ข้อนี้หลายคนเข้าใจผิดกันเยอะมาก เพราะกลุ่ม every…, any… หลายคนเข้าใจว่าเป็นพหูพจน์ก็มี
อ้างอิงภาพจาก : Pinterest