#DEK68 ที่กำลังมองหาหลักสูตรใหม่ๆ หรือยังไม่รู้ว่าจะสอบเข้าคณะหรือสาขาอะไรที่อนาคตสดใสไม่ตกงาน! วันนี้เราได้รวม 7 หลักสูตรที่ (กำลังจะ) เปิดใหม่ในปี 68 มาเป็นทางเลือกไว้ให้ที่นี่แล้ว จะมีที่ไหนบ้าง ? มาดูกัน!
1. หลักสูตรเทคนิคการสัตวแพทย์และการพยาบาลสัตว์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียนเกี่ยวกับการชันสูตรโรคและตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ และการพัฒนาทักษะการพยาบาลและดูแลสัตว์เบื้องต้น (Veterinary Nurse) ตัวอย่างอาชีพหลังจบการศึกษา เช่น ผู้ปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคทางสัตวแพทย์ (Lab Practitioner), พยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse) ฯ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : FB คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.แม่โจ้
2. หลักสูตรเทคโนโลยีอาหารทางการแพทย์และสุขภาพ
ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หลักสูตรที่เรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหารและวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิจัย พัฒนา และควบคุมคุณภาพอาหารทางการแพทย์ จบแล้วสามารถไปเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์และสุขภาพ, นักวิทยาศาสตร์ในสายงานที่เกี่ยวข้อง, ผู้ประกอบการด้านอาหารทางการแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องก็ได้
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : pccms.ac.th
3. หลักสูตรการจัดการบริการการบิน
หลักสูตรใหม่ของคณะศิลปศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชื่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการบริการการบิน (Aviation Service Management) เป็นหลักสูตรร่วมผลิตระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับบริษัท Thai Flight Training ของสายการบินไทย เราจะได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ในอุตสาหกรรมการบินเลยค่ะ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : FB KMITL MOU Activity, kmitl.iaai
4. หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์
ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หลักสูตรที่รวมความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ไว้ด้วยกัน เป็นสองสายที่ท็อปทั้งคู่ อาชีพหลังเรียบจบก็มี วิศวกรชีวการแพทย์, นักวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์, เจ้าของกิจการผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ ฯ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : pccms.ac.th, CRAPCCMS
5. หลักสูตรแพทยศาสตร์
ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่ร่วมกับบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (THG) จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ “St. Luke School of Medicine” หลักสูตรนานาชาติ ตั้งเป้าเป็นโรงเรียนแพทย์ทันสมัยในเอเชีย หลักสูตรเน้นการบูรณาการด้านการแพทย์, การบริหารจัดการ และการใช้ AI เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ถึงหลักสูตรจะไม่แปลกใหม่ แต่ปี 2568 จะเป็นปีแรกที่อัสสัมชัญเปิดหลักสูตรนี้ค่ะ แถมวิชาก็น่าสนใจมากๆ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : admissions.au.edu
6. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์เซมิคอนดักเตอร์
จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการเรียนการสอนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, ชิปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์โฟโตนิก เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการใช้งานในสาขาต่างๆ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งปัจจุบันอาชีพวิศวกรด้านเซมิคอนดักเตอร์กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น เรียนไปไม่ต้องกลัวตกงานค่ะ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : @EE.Chula
7. หลักสูตรเอกวรรณกรรมโลกและการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราจะได้เรียนเกี่ยวกับกับวรรณกรรมจากหลากหลายภาษาและวัฒนธรรมทั่วโลก ผ่านการอ่าน การวิเคราะห์ และการวิจารณ์เชิงลึก เน้นวิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โอกาสระหว่างเรียน อาจได้ทำงานกับสำนักพิมพ์ หรือค่ายหนังอย่าง Netflix เลยนะ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : FB World Lit and Creative Writing Chula