รวมทริคเดาข้อสอบภาษาอังกฤษขั้นเทพ!

          ใครที่แพ้ทางภาษาอังกฤษ ลองใช้ทริคเดาข้อสอบภาษาอังกฤษแบบขั้นเทพตามนี้ดูนะ เป็นการเดาแบบมีหลักการ เผื่ออ่านไม่ทัน อ่านไม่เข้าใจ หรือกลัวทำไม่ทัน! ก็เผื่อไว้ก่อน!!!

• ตัดช้อยส์เพิ่มโอกาส

ถ้าตัดช้อยส์เป็น ก็มีโอกาสตอบถูกถึง 50% เลยนะ แนะนำให้อ่านแล้วตัดช้อยส์ที่น่าจะผิดมากที่สุดออกก่อน เช่น ถ้าข้อนั้นมีช้อยส์ไม่เข้าพวกแค่ข้อเดียว มีโอกาสที่ช้อยส์นั้นจะผิด ตัดออกไปได้เลยค่ะ, ไม่ควรเลือกข้อที่คำตอบสั้นมากเกินไป และในพาร์ทสนทนา ให้เลือกตอบข้อที่ใช้ภาษาทั่วไปแบบภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาทางการ, ช้อยส์ที่มีคำซ้ำกับเนื้อเรื่องและโจทย์เยอะๆ มักผิด, ช้อยส์ที่แปลได้แบบตรงเป๊ะๆ มักผิด เป็นต้น

• ดูคำแรกของประโยคคำถาม

ทริคนี้ง่ายมาก ให้เราสังเกตคำแรกในคำถามค่ะ เช่น ถามว่า “Who is speaking in text ?” คำขึ้นต้นคือ Who ดังนั้น คำตอบที่ถูกคือต้องเป็นคน ถ้าขึ้นต้นด้วย When คำตอบที่ถูกต้องจะเกี่ยวกับช่วงเวลา เป็นต้นค่ะ

• จับคู่คำเชื่อมให้แม่น

เพราะคำเชื่อมเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ออกข้อสอบบ่อยมากๆ ทั้งคำเชื่อมที่แสดงความขัดแย้ง คำเชื่อมที่บอกเหตุผล หรือคำเชื่อมที่มาเป็นคู่ๆ เช่น Both…And หรือ Either…Or ดังนั้น ถ้าในประโยคแรกมีคำนี้โผล่มา ประโยคถัดไปก็จะต้องเป็นคู่ของมันค่ะ

• สังเกตเครื่องหมาย

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมาย Comma (,), Colon (:), Semicolon (;),  Dash (-) และ Parenthesis ( ) เพราะหลังเครื่องหมายมักเป็นส่วนขยาย ซึ่งอาจช่วยเราขยายความหมายของศัพท์ที่เราไม่รู้ได้ เช่น เครื่องหมาย Comma ทำหน้าที่ขยายประโยคต่อไป, เครื่องหมาย Colon ทำหน้าที่ขยายเหตุผลต่างๆ, เครื่องหมาย Semicolon ทำหน้าที่ขยายเหตุผลเพิ่มเติมจากประโยคแรก เป็นต้น

• เช็กตำแหน่ง

ดูว่าหน้า-หลังของช่องคำตอบคือคำประเภทไหน เช่น ช่องคำตอบอยู่หลัง a คำตอบก็อาจเป็นคำนาม หรือคำ Adj. ก็ได้ ทีนี้เราก็ต้องมาดูคำหลังช่องคำตอบอีกที ถ้าหลังช่องว่างเป็นคำนาม คำตอบก็ต้องเป็น Adj. ดังนั้น สิ่งที่เราต้องรู้ถ้าจะใช้ทริคนี้ก็คือ ต้องรู้ประเภทของคำค่ะ

• เดาจากคำศัพท์

ยิ่งรู้คำศัพท์มาก ยิ่งได้เปรียบ แต่ถ้าเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย เราต้องใช้เทคนิคการเดาศัพท์ โดยดูจากข้อความในบริบทโดยรอบ แล้วเดาความหมายที่น่าจะเป็นไปได้ค่ะ

อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : Pinterest, interpass.in.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น นโยบายคุกกี้

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้

บันทึกการตั้งค่า